เมนู

คือในโลกที่ประเสริฐสุด. บทว่า เป็นของเก่า คือเป็นของนมนานเป็นของ
เก่าแก่. พรหมย่อมแสดงว่า ข้าพเจ้านั้นเป็นกุมารเก่า ชื่อสนังกุมารพรหม.
บทว่า โควินท์ ท่านจงรู้อย่างนี้ ความว่า โควินท์ผู้เป็นบัณฑิต ท่านจงรู้
ข้าพเจ้าอย่างนี้ คือจงจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้.
ของที่พึงน้อมไปเพื่อแขก เรียกว่าของรับแขก ในคาถานี้ว่า
ที่นั่ง น้ำ น้ำมันทาเท้า และผักนึ่ง
อย่างดี สำหรับพรหม (มีอยู่) ข้าพเจ้าขอ
ต้อนรับผู้เจริญ ขอผู้เจริญจงรับของ
ควรค่าของข้าพเจ้า.

มีคำที่ท่านอธิบายไว้ด้วยบทว่า ของรับแขก นั้นเองว่า นี้ที่นั่งที่
ปูไว้แล้ว เชิญนั่งบนที่นั่งนี้ นี้น้ำบริสุทธิ์ เชิญดื่มน้ำ เชิญล้างเท้าจากน้ำนี้
นี้น้ำมันทาเท้า ที่เอาน้ำมันมาปรุงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เท้า เชิญทาเท้าด้วย
น้ำมันนี้. บทนี้ว่า ผักนึ่งอย่างดี คือ พรหมจรรย์ของพระโพธิสัตว์ หา
เหมือนกับพรหมจรรย์ของคนเหล่าอื่นไม่ พระโพธิสัตว์นั้น ไม่ทำการสะสม
ด้วยคิดว่า นี้สำหรับพรุ่งนี้ นี้สำหรับวันที่สาม ก็ผักที่นึ่งด้วยน้ำ มีรสหวาน
ไม่เค็ม ไม่ได้อบ ไม่เปรี้ยว (มีอยู่) พระโพธิสัตว์นั้นทรงหมายผักนึ่งนั้น
เมื่อจะกล่าวว่า เชิญเอาผักนึ่งนี้ไปบริโภค จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าขอถาม
ผู้เจริญเกี่ยวกับของรับ แขก. ของรับแขกทั้งหมดนี้ มีไว้สำหรับพรหม ข้าพเจ้า
ขอถามของรับแขกเหล่านั้นกับผู้เจริญ ท่านผู้เจริญจงกระทำของรับแขกของ
ข้าพเจ้า คือ ท่านผู้เจริญจงรับของรับแขกนี้ของข้าพเจ้าผู้ถามอยู่อย่างนี้.
ก็ท่านมหาโควินท์นี้ไม่ทราบหรือว่า พรหมไม่บริโภคแต่สิ่งเดียวจากสิ่ง
นี้. ไม่ใช่ไม่ทราบ ทั้งที่ทราบอยู่ก็ถามด้วยมุ่งวัตรเป็นสำคัญว่า ชื่อว่าแขก
ที่มาสู่สำนักของตนเป็นผู้ที่ต้องถาม. ที่นั้นแล พรหมก็พิจารณาดูว่า

บัณฑิตรู้ว่าเราไม่มีการทำการบริโภคแล้วจึงถามหรือหนอ หรือว่า ตั้งอยู่ใน
ความหลอกลวงแล้วจึงถาม ทราบว่า ตั้งอยู่ในวัตรเป็นสำคัญจึงถาม จึง
คิดว่า บัดนี้ เราควรรับ จึงกล่าวว่า โควินท์ เราจะขอรับของรับ แขกที่
ท่านกล่าวถึง. (มีคำที่มหาพรหมอธิบายว่า) โควินท์ คำที่ท่านกล่าวเป็นต้น
ว่า นี้ที่นั่งที่ปูไว้แล้วเชิญนั่งบนที่นั่งนี้ ในสิ่งเหล่านั้น เรานั้นชื่อว่าเป็นผู้
นั่งแล้วบนที่นั่ง ชื่อว่าเป็นผู้ดื่มน้ำแล้ว แม้เท้าเราก็ชื่อว่าล้างแล้ว ชื่อว่า
ทาน้ำมันแล้ว ชื่อว่าบริโภคผักนึ่งน้ำแล้ว ตั้งแต่เวลาที่เรารับของที่ท่านให้
ท่านพูดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอันว่า เราได้รับเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงว่า โควินท์ เราขอรับของรับแขกที่กล่าวถึงนั้น . ก็แล
ครั้นรับของรับแขกแล้ว เมื่อจะทำโอกาสแห่งปัญหา มหาพรหมจึงกล่าวคำ
เป็นต้นว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน ดังนี้ .
บทว่า (ข้าพเจ้า) ผู้มีความสงสัย (ขอถามท่าน) ผู้ไม่สงสัย (ใน
ปัญหา) ที่พึงทำให้คนอื่นเข้าใจ ความว่า ข้าพเจ้ายังมีความสงสัย (ขอ
ถาม) ท่านผู้เจริญ ที่ไม่มีความสงสัยในปัญหาที่พึงทำให้คนอื่นเข้าใจ ซึ่ง
ปรากฏแก่คนอื่น เพราะความที่ถูกคนอื่นสร้างขึ้นมาเอง. คำว่า ละความ
เป็นของเรา
คือละตัณหาที่เป็นเครื่องมือให้ถือว่า นี้ของเรา ของเรานี้.
คำว่า ในหมู่มนุษย์ คือในหมู่สัตว์. อธิบายว่า มนุษย์คนเราละความเป็น
ของเราแล้ว. คำว่า เป็นผู้โดดเดี่ยว คือ เป็นผู้เดียว. หมายความว่า ยืนอยู่
คนเดียว นั่งอยู่คนเดียว. ก็ในข้อนี้ มีใจความของคำว่า ที่ชื่อว่า โดดเดี่ยว
เพราะเป็นผู้เดียว เด่นขึ้น คือเป็นไป. ที่ชื่อว่า เป็นผู้โดดเดี่ยวเพราะ.
เป็นผู้เช่นนั้น. คำว่า น้อมไปในความสงสาร คือน้อมไปในฌานที่ประ-
กอบด้วยความสงสาร หมายความว่า ทำให้ฌานนั้นเกิดขึ้น. คำว่า ไม่มี
กลิ่นสกปรก
คือปราศจากกลิ่นเหม็น. คำว่า ตั้งอยู่ในนี้ คือตั้งอยู่ใน

ธรรมเหล่านี้. คำว่า และกำลังสำเหนียกอยู่ในนี้ คือกำลังศึกษาในธรรม
เหล่านี้. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้. ส่วนความยาว มหาโควินท์ และพรหม
ได้กล่าวไว้ข้างบนเสร็จแล้วแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ มีความว่า ข้าพเจ้า
ไม่รู้ ไม่เข้าใจกลิ่นสกปรกเหล่านี้. บทว่า ธีระ ท่านจงกล่าวในที่นี้ ความ
ว่า ธีระ คือนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจงกล่าว คือจงบอกข้าพเจ้า
ในที่นี้. คำว่า หมู่สัตว์ถูกอะไรห่อหุ้มไว้จึงมีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไป
ความว่า สัตว์ถูกเครื่องกางกั้น คือกิเลสเป็นไฉนห่อหุ้มไว้จึงเน่าเหม็นฟุ้งไป
คำว่า สัตว์อบาย ได้แก่สัตว์ที่เข้าถึงอบาย. บทว่า ปิดพรหมโลก
คือ ชื่อว่า ปิดพรหมโลกแล้วเพราะพรหมโลกของเขาถูกหุ้มไว้ คือถูกปิดแล้ว.
มหาโควินท์ถามว่า หมู่สัตว์ถูกกิเลสอะไรห่อหุ้ม คือปิดได้แก่ปกปิดทาง
พรหมโลกเล่า มหาพรหมตอบว่า ความโกรธ การกล่าวเท็จ ความ
หลอกลวง ความประทุษร้าย เป็นต้น ความโกรธมีความฉุนเฉียวเป็นลักษณะ
การกล่าวเท็จมีการกล่าวให้คลาดเคลื่อนกับคนอื่นเป็นลักษณะ ความหลอกลวง
มีการแสดงสิ่งที่เหมือนกันแล้วลวงเอาเป็นลักษณะ และความประทุษร้ายมีการ
ทำลายมิตรเป็นลักษณะ. คำว่า ความตระหนี่ การดูหมิ่น ความริษยา
ความว่า ความตระหนี่มีความกระด้างและความเหนียวแน่นเป็นลักษณะ การ
ดูหมิ่นมีการเหยียบย่ำแล้วดูถูกเป็นลักษณะ และความริษยามีความสิ้นไปแห่ง
สมบัติคนอื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยาก ความอยากแปลก ๆ และ
ความเบียดเบียนผู้อื่น
ความว่า ความอยากมีความทยานอยากเป็นลักษณะ
ความหวงแหนมีความตระหนี่เป็นลักษณะ และความเบียดเบียนผู้อื่นมีการทำให้
ลำบากเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยากได้ ความประทุษร้าย ความเมา
และความหลง
คือ ความอยากได้ มีความโลภเป็นลักษณะ ความประทุษ

ร้ายมีความร้ายกาจเป็นลักษณะ ความเมา มีความมัวเมาเป็นลักษณะ และ
ความหลง มีความลุ่มหลงเป็นลักษณะ. บทว่า ผู้ประกอบในเหล่านี้ ไม่
ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก
ความว่า หมู่สัตว์ที่ประกอบในกิเลสทั้ง 14 ข้อ
เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก. มหาพรหมกล่าวว่า เป็นผู้มีกลิ่นสกปรก
มีกลิ่นศพ มีกลิ่นเน่าเหม็นแท้ ๆ. บทว่า สัตว์อบายปิดพรหมโลกแล้ว
มหาพรหมย่อมแสดงว่า ก็แหละ หมู่สัตว์นี้เป็นสัตว์อบายและเป็นผู้ปิดทาง
พรหมโลก. ก็แลผู้กล่าวสูตรนี้อยู่พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยอามคันธสูตร แม้
อามคันธสูตรก็พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยสูตรนี้
บทว่า (กลิ่นน่าสะอิดสะเอียน) เหล่านั้น ไม่ใช่พึงย่ำยีได้ง่าย
ความว่า กลิ่นเหม็น ๆ เหล่านั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ำยีเสียได้โดยง่าย คือ
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ำยีเสียได้อย่างสะดวก คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงละได้อย่าง
ง่าย ๆ. หมายความว่า ละยาก คือลำบากที่จะละ. บทว่า โควินท์ผู้เจริญ
ย่อมสำคัญกาลเพื่อสิ่งใดในบัดนี้
ความว่า โควินท์ผู้เจริญย่อมสำคัญเวลา
เพื่อการบวชใด การบวชนี้แหละจงเป็น. เมื่อเป็นอย่างนั้น การมาในสำนัก
ของท่านแม้ของเราก็จักเป็นการมาดี. ถ้อยคำในทางธรรมที่กล่าวแล้ว ก็จัก
เป็นอันกล่าวดีแล้ว พ่อ! ท่านเป็นคนชั้นเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น เป็นคนหนุ่ม
ยังอยู่ในวัยต้น ชื่อว่าการละความเป็นสิริแห่งสมบัติที่ใหญ่อย่างนี้แล้วบวชของ
ท่านนี้ เป็นการยิ่งใหญ่เหมือนกับการที่ช้างกลิ่นหอม (ช้างได้กลิ่นช้างฟัง)
แล้วตัดเครื่องล่ามคือ (โซ่) เหล็กไปได้ฉะนั้น. ครั้นกระทำงานคือความมั่น
คงแก่มหาบุรุษว่า การบวชนี้ชื่อว่า ความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพรหม
สนังกุมารก็ไปสู่พรหมโลกตามเดิม. แม้มหาบุรุษมาคิดว่า การที่เราออกจากที่
นี้แลบวชไม่สมควร เราย่อมพร่ำสอนอรรถแก่ราชตระกูล เพราะฉะนั้น เรา
จักกราบทูลแด่พระราชา ถ้าพระองค์จักทรงผนวชด้วยก็เป็นการดีแท้ ถ้าจักไม่